องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาทเยอ

"ยึดมั่นธรรมาภิบาล บริการเพื่่อประชาชน"

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล

🔶ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๖๒

          ๑. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (มาตรา ๖๖)

          ๒. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา ๖๗)

                   ๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำ และทางบก

                   ๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและทางที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

                   ๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

                   ๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                   ๕) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                   ๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ

                   ๗) คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ๘) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

                   ๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

          ๓. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังต่อไปนี้ (มาตรา ๖๘)

                   ๑) ให้มีน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร

                   ๒) ให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

                   ๓) ให้มีการบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

                   ๔) ให้มีการบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

                   ๕) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

                   ๖) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

                   ๗) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

                   ๘) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

                   ๙) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

                   ๑๐) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

                   ๑๑) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

                   ๑๒) การท่องเที่ยว

                   ๑๓) การผังเมือง

          ๔. การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมหรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้นำ ความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา ๖๙)

          ๕. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำ แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด (มาตรา ๖๙/๑)

          ๖. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา ๗๐)

          ๗. ออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกิน ๑,๐๐๐ บาท เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา ๗๑)

          ๘. อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม (มาตรา ๗๒)

          ๙. อาจทำกิจกรรมนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำ กิจกรรมร่วมกันได้ (มาตรา ๗๓)