🔶ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙
๑. มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (มาตรา ๑๖)
๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
๒) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
๓) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
๔) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
๕) การสาธารณูปการ
๖) การส่งเสริม การฝึกและการประกอบอาชีพ
๗) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน
๘) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
๙) การจัดการศึกษา
๑๐) การสังคมส่งเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๑๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
๑๓) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
๑๔) การส่งเสริมกีฬา
๑๕) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๖) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
๑๗) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๑๘) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำ เสีย
๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล
๒๐) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
๒๑) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
๒๒) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
๒๓) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ
๒๔) การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒๕) การผังเมือง
๒๖) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
๒๗) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
๒๘) การควบคุมอาคาร
๒๙) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๓๐) การักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๓๑) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
๒. อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตาม ข้อ ๑ ต้องดำเนินตาม “แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”